วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551

ดอกทานตะวัน



ดอกทานตะวัน


ทุ่งทานตะวัน
ผมได้ยินเรื่องการปลูกดอกทานตะวันในแถบจังหวัดสระบุรีและลพบุรี นานราวสิบกว่าปีมาแล้ว ครั้งแรกที่ได้ยินก็ไม่ค่อยจะเชื่อหูนัก เป็นไปได้หรือที่เมืองไทยจะปลูกกันนับเป็นร้อยๆไร่ และเหลืองอร่ามกันแบบที่เห็นในต่างประเทศ เค้าปลูกไปทำอะไรกันหรือว่าปลูกเพื่อความสวยงาม ตอนนั้นพรรคพวกที่นั่งรถผ่านสระบุรีเล่าให้ฟัง ซึ่งเจ้าตัวยังแปลกใจและดูจะตื่นเต้นไม่น้อย
นึกไม่ออกว่าเจ้าเมล็ดดอกทานตะวันจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง เคยเห็นก็แต่เพียงเมล็ดแห้งที่คั่วหรืออบสำหรับทานเล่นๆเหมือนเมล็ดแตงโม หรือว่าเอาไปเป็นอาหารนก หรือว่าเอาไปทำอาหารสัตว์ ก็สงสัยกันอยู่นาน กว่าจะรู้ความจริงกันในเวลาต่อมา
จังหวัดลพบุรี เคยไปถ่ายภาพในทุ่งทานตะวัน เจ้าของบอกว่าเป็นที่เช่า แปลงนี้เนื้อที่ประมาณ 70 กว่าไร่ แปลงติดๆกันก็เป็นที่เช่าเหมือนกัน ลักษณะด้านหน้าจะแคบแต่จะยาวลึกไปข้างหลังจนเกือบถึงเชิงเขา เจ้าของรายนี้บอกว่าตนเองอาศัยอยู่ห่างจากนี้ไปราวสิบกิโล เช้ามาก็จะมาดูไร่ ตอนเย็นหรือบ่ายๆก็จะกลับ
ปลูกแล้วไม่ต้องกลัวขายไม่ได้เพราะบริษัท ซีพี เค้ารับซื้อทั้งหมดในราคาประกันที่ทราบล่วงหน้า โดยจะส่งเจ้าหน้าที่มาดูแล มาแนะนำวิธีการต่างๆ และยังมีการอบรมให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ใครเข้าฟังก็จะมีของแจกเป็นที่ระลึกเพื่อดึงดูดให้เข้าอบรม เรื่องการลงทุนอื่นๆ เช่นปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ดูเหมือนว่า ซีพีเค้าจะให้ไปก่อน แล้วไปหักหนี้กันภายหลังเมื่อขายผลผลิตได้ ดูๆแล้วก็น่าจะดี ที่ชาวบ้านมีแค่ที่ดินกับแรงงาน อย่างอื่นก็มีคนช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ ได้ยินว่าเกษตรกรที่เคยปลูกข้าวฝ่างหรือข้าวโพดต่างหันมาปลูกทานตะวันกันมากขึ้น
เวลาจะเก็บเมล็ดดอกทานตะวันก็ต้องรอจนแห้งกันทั้งต้น ดอกไหนใหญ่ก็จะโค้งงอเหมือนคาระวะแผ่นดิน วิธีการเก็บก็เหมือนกับการเกี่ยวข้าว คือใช้เคียวเกี่ยวมาทีละดอก กองๆกันไว้เป็นระยะๆ ได้มากพอแล้วก็จะเอาถุงมาใส่ มัดให้แน่นแล้วแบกไปใส่รถอีแต๋นหรือรถปิ๊คอัพ ส่วนจะสีออกเป็นเม็ดแบบข้าวเปลือก จะทำกันที่บ้านหรือที่โรงงาน ผมก็ไม่ทราบได้ แต่จะว่าไปแล้ว พืชเกษตรหลายชนิด มีเครื่องสีกันเกือบจะทุกชนิด ยกใส่รถไปทำงานกันที่ไร่ได้ทันที รายไหนไม่มีเครื่องสีก็จะมีผู้รับเหมาบริการด้านนี้
โรงงานของซีพีเป็นโรงงานขนาดใหญ่ อยู่บนถนนสายสระบุรี – เพชรบูรณ์ มองเห็นแปลงดอกทานตะวันรายล้อมเกือบรอบด้านผลผลิตจากโรงงานแปรรูปเมล็ดดอกทานตะวันมีหลากหลาย ทำเป็นขนมก็หลายแบบ ที่ผมชอบทานก็เป็นเมล็ดอบแห้ง เค็มๆมันๆ อร่อยดี กินแบบเผลอๆ เพลินๆ ก็ล่อไปซะหลายซอง
น้ำมันที่สะกัดได้จากเมล็ดดอกทานตะวันแห้งคิดว่าน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ส่วนผลิตภัณฑ์อย่างอื่นน่าจะเป็นตัวรอง หรืออาจเป็นผลพลอยได้จากกากที่เหลือ ซึ่งนำไปแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่นได้อีกมากมาย
น้ำมันที่ได้จากดอกทานตะวันจะมีราคาสูงกว่าน้ำมันพืชทั่วไปเล็กน้อย แต่มีประโยชน์ตรงที่ช่วยลดความดัน ซึ่งน่าจะเหมาะนำไปปรุงอาหารสำหรับผู้มีปัญหาเรื่องสุขภาพ คนไทยในระยะหลังๆนี้สนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น น้ำมันพืชชนิดต่างๆที่ไม่ค่อยนิยมในอดีต กลับมีลูกค้ามากขึ้นเช่นน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก(จากต่างประเทศ) หรือน้ำมันงาจากบ้านเรา บางชนิดมีราคาสูงมากแต่เพื่อสุขภาพระยะยาว ก็คงต้องจำใจต้องซื้อ
ดอกทานตะวันปลูกเพื่อแปรรูปในทางอุตสาหกรรมการเกษตร แต่ภาพของแปลงดอกทานตะวันที่เห็นกันสุดลูกหูลูกตา ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จักและให้ความสนใจกันในด้านความสวยงาม และด้านการท่องเที่ยวมากกว่า จนทางจังหวัดอาศัยจุดนี้ดึงดูดให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยว มีการจัดงานเพื่อส่งเสริมกันเป็นประจำทุกปี ทำให้สองจังหวัดนี้เป็นที่รู้จักกันในฐานะที่เป็นจังหวัดของท้องทุ่งทานตะวัน เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีในจังหวัดอื่น ใครที่เคยเห็นเป็นครั้งแรกก็บอกได้เลยว่า เป็นภาพที่ตื่นตาตื่นใจไม่น้อยมันเหลือง มันสดใสมากทีเดียว เห็นที่อื่นแค่ต้นสองต้นมันก็งั้นๆ แต่นี้เป็นร้อยๆไร่ หรือหลายร้อยไร่ติดกันเป็นพืด ดูแล้วมีความอลังการมากมีเดียว
เมื่อถึงเดือนตุลาคม ดินแดนแถบนี้จะมีบรรยากาศที่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยว ต่างอยากเห็นอยากสัมผัสกับความสวยงามของดอกสีเหลืองดอกโตๆ ภาพของนักท่องเที่ยวที่จอดรถตามริมทาง และพากันไปถ่ายรูปในทุ่งทานตะวันเป็นกลุ่มๆ จึงเป็นภาพที่เห็นเป็นปกติในย่านนี้
ใหม่ๆใครจะถ่ายภาพในแปลง ใครจะเดินชมก็ไม่มีใครว่าอะไร เพราะเจ้าของสวนคงไม่มานั่งเฝ้า แต่มาภายหลังชาวสวนชักจะหัวเสธฯ คือฉลาดขึ้นและมีหัวคิดในทางการค้า มีการกั้นรั้วด้านหน้า และตั้งโต๊ะเก็บเงินจากผู้ที่ต้องการเข้าไปเห็นอย่างใกล้ชิดใครไม่อยากเข้าไปก็ชะเง้อเอาเองที่นอกรั้ว ค่าผ่านประตูวันๆหนึ่งคงได้เงินไปไม่น้อย เผลอๆอาจได้เงินมากกว่าขายเมล็ดแห้งๆด้วยซ้ำไป แรกๆก็เก็บค่าชมคนละ 2 บาท แต่ ณ วันนี้ก็น่าจะขยับราคาสูงขึ้นกว่าแต่ก่อน ผ่านไประยะหลังๆ เห็นมีสร้างนั่งร้านสูงราว 3 - 4 เมตร เพื่อให้เห็นทุ่งกว้างได้ชัดขึ้น แต่ก็ต้องรอคิวกันนานหน่อย เพราะช่างภาพและนางแบบจำเป็น ขึ้นไปถ่ายภาพกันมากมาย
เมื่อถึงฤดูที่ดอกบาน ย่านนี้จะคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว แปลงไหนที่กำลังออกดอกบานสะพรั่ง ก็จะมีตลาดนัดชั่วคราวจากชาวบ้านไปปักหลักขายของกันเป็นที่ครื้นเครง ครั้นเมื่อดอกวายก็จะย้ายไปยังแปลงอื่น หมุนเวียนกันไปแบบนี้ตลอดเทศกาล
จากกรุงเทพถึงทุ่งทานตะวัน ระยะทางเพียงแค่ร้อยกว่ากิโลเมตร เที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับกันแบบสบาย จุดแวะเที่ยวตามเส้นทาง มีหลายแห่ง เช่นตลาดนัดมวกเหล็กเจ้าของสโลแกนว่า นมดี กระหรี่ดัง ที่นี่เป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ ที่ขึ้นชื่อและต้องยกนิ้วให้ก็ต้องเป็นกระหรี่พับ ได้มาสักลูกสองลูกร้อนๆจากเตา ทานกับกาแฟร้อนสักถ้วย รับรองทั้งอิ่มทั้งอร่อย
แวะน้ำตกเจ็ดสาวน้อย ชมไร่อรุ่น และชิมไวน์จากไร่ ก็ไม่เลว หรือจะหาอะไรเย็นๆทานพร้อมกับนั่งชมธรรมชาติของไร่องุ่นก็เข้าท่า จากนี้เลยไปหน่อยก็มีถ้ำต้นไม้ ที่เห็นต้นไม้สองฝากถนนโค้งเข้าหากันจนแน่นและดูร่มรื่น
ที่พลาดไม่ได้ก็คือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งเป็นเขื่อนโครงการพระราชดำริ และเขื่อนป่าสักนี้แหละที่ช่วยให้กรุงเทพพ้นจากน้ำท่วมมาได้จนถึงทุกวันนี้ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 เป็นวันทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสัก จนถึงวันนี้ก็ 5 ปีพอดี
หรือใครอยากเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจก็คือนั่งรถไฟผ่ากลางทุ่งทานตะวัน และจอดให้ลงไปถ่ายภาพ ขบวนนี้จะไปสิ้นสุด ที่สถานีเขื่อนป่าสัก ออกจากหัวลำโพงราว 7 โมงเช้า ขากลับถึงกรุงเทพก็ตอนเย็นๆ ขบวนพิเศษนี้มีเฉพาะเดือน พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม เท่านั้น เป็นขบวนพิเศษจริงๆ เพื่อการชมทุ่งทานตะวันโดยเฉพาะ ติดต่อสอบถามที่ได้การรถไฟแห่งประเทศไทย


วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ขิมสาย


ขิมสาย

ขิม ส่วนใหญ่ที่เราจำหน่ายและได้รับความนิยมมากที่สุด จะเป็น ขิม ขนาด 7 หย่อง ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานของ ขิม ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และจำหน่ายมากที่สุดในประเทศไทย ส่วนขนาด 9 หรือ 11 หย่อง เราก็มีจำหน่ายเช่นเดียวกัน แต่เหมาะสำหรับมืออาชีพ หรือต้องเล่นกับวงดนตรีไทย ในการซื้อ ขิม ไปฝึกหัดเล่น หรือเพื่อซ้อม จึงไม่จำเป็นต้องใช้ ขิม ที่มีจำนวนหย่องมาก เพราะขนาด 7 หย่อง ก็สามารถเล่นได้ทุกเพลงเช่นเดียวกัน ขิม ที่ดี คือ ขิม ที่ผ่านการรับรองจากอาจารย์สถาบันที่ได้รับการยอมรับในสังคม เช่น กรมศิลปากร ดุริยางค์ทหารเรือ จุฬาฯ โดย ขิม นั้น ต้องมีคุณภาพเหมาะสมกับราคา ใช้ไม้ที่นิยมในการทำเครื่องดนตรีไทยที่ให้เสียงกังวานและเหมาะกับสภาพอากาศในบ้านเรา

ดอกบานชื่น







ดอกบานชื่น





ปลูกดอกบานชื่นไว้หลายแปลงสีขาวสีแดงชมพูแสดส้มผีเสื้อบินว่อนร่อนดอมดมบานชื่นรื่นรมย์ชูช่อแย้มบานวันไหนอารมณ์ดีตัดดอกบานชื่นหลากสีวางไว้หน้าบ้านป้ายสีละเลงบนกลีบบานให้ดอกไม้ยิ้มหวานบานทัดหัวใจ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ดอกเฟื่องฟ้า


ดอกเฟื่องฟ้า


พันธุ์เฟื่องฟ้าที่ปลูกเป็นไม้มงคล
1. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ แดงจินดา แดงรั

ตนา แดงบานเย็น ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา2. พันธุ์ดอสีขาว ได้แก่ ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี3. พันธุ์ดอสีชมพู ได้แก่ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช 4. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี5. พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ สุมาลีสีทอง6. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ เหลืองอรทัย


วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ดนตรีไทย,สากล

ดนตรีไทย

จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย
ตัวจะเข้ทำเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำด้วยไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 52 ซม. และกว้างประมาณ 11.5 ซม. ท่อนหัวและท่อนหางขุดเป็นโพรงตลอด รวมทั้งสิ้นมีความยาวประมาณ 130 – 132 ซม. ปิดใต้ทองด้วยแผ่นไม้ มีเท้ารองตอนหัว 4 เท้า และตอนปลายปางอีก 1 เท้า วัดจากปลายเท้าถึงตอนบนของตัวจะเข้ สูงประมาณ 19 ซม. ทำหลังนูนตรงกลางให้สองข้างลาดลง โยงสายจากตอนหัวไปทางตอนหางเป็น 3 สาย มีลูกบิดประจำสายละ 1 อัน สาย 1 ใช้เส้นลวดทองเหลือง อีก 2 สายใช้เส้นเอ็น มีหย่องรับสายอยู่ตรงปลายหางก่อนจะถึงลูกบิด ระหว่างตัวจะเข้มีแป้นไม้เรียกว่า นม รองรับสายติดไว้บนหลังจะเข้ รวมทั้งสิ้น 11 อัน เพื่อไว้เป็นที่สำหรับนิ้วกดนมแต่ละอันสูง เรียงลำดับขึ้นไป ตั้งแต่ 2 ซม. จนสูง 3.5 ซม.